ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ “การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส”
แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ประกาศให้ศูนย์การผ่าตัดส่องกล้องโรคจมูกและไซนัส ของหน่วยนาสิกวิทยาและภูมิแพ้ ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษา และผ่าตัดผู้ป่วยโรคจมูกและไซนัส รวมถึงเป็นศูนย์รับรักษาผู้ป่วยโรคจมูกและไซนัสที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น
การใช้กล้องเอนโดสโคป สอดผ่านทางช่องจมูก (transnasal endoscopic surgery) เพื่อเข้าไปทาผ่าตัดอวัยวะต่างๆ จะลดผลข้างเคียงและให้ผลของการผ่าตัดที่ดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิม การส่องกล้องผ่าตัดดังกล่าวประกอบด้วย การผ่าตัดโรคของไซนัส (endoscopic sinus surgery), การผ่าตัดลดขนาดของเทอร์บิเนตเพื่อลดอาการคัดจมูกในผู้ป่วยแพ้อากาศ (turbinoplasty, turbinate reduction), การผ่าตัดแก้ไขโรคท่อน้าตาส่วนล่างอุดตัน (endoscopic dacryocystorhinostomy), การผ่าตัดแก้ไขโรคคอพอกตาโปน (endoscopic orbital decompression), การผ่าตัดลดความดันของเส้นประสาทตา (endoscopic optic nerve decompression), การผ่าตัดผูกเส้นเลือดในโรคเลือดกาเดาส่วนหลัง (endoscopic sphenopalatine artery ligation), การผ่าตัดซ่อมรอยรั่วระหว่างจมูก-ไซนัสกับฐานสมองส่วนหน้า (endoscopic repair of CSF leaks), และการผ่าตัดเนื้องอกของต่อมใต้สมอง (endoscopic pituitary surgery) เป็นต้น
Endoscopic sinus surger ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบ และริดสีดวงจมูก มีข้อดีคือ
1. มองเห็นบริเวณที่ทาผ่าตัดได้อย่างชัดเจน
2. สามารถทาผ่าตัดทั้งในบริเวณที่อยู่ด้านหน้าตรงๆ และที่อยู่ด้านข้างได้
3. ผลข้างเคียงของการผ่าตัดน้อย, เลือดออกน้อย, เจ็บแผลน้อย, ฟื้นตัวเร็ว, ไม่มีแผลภายนอก
4. ผลของการทาผ่าตัดดีกว่าแบบเดิม
Turbinoplasty, turbinate reduction ในผู้ป่วยที่มีอาการคัดจมูก ปากแห้ง คอแห้ง หรือกรน เนื่องจาก inferior turbinate มีขนาดโต และได้รับการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
- มีวิธีการผ่าตัดหลายแบบได้แก่การลดขนาดของเนื้อเยื่อ, การลดขนาดของกระดูกและการลดขนาดของทั้งเนื้อเยื่อและกระดูกเป็นต้น
- มีเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดหลายชนิดได้แก่การใช้คลื่นวิทยุ(radiofrequency) และการใช้เครื่องตัด-ปั่น-ดูด(microdebrider) เป็นต้น
- การเลือกวิธีการผ่าตัดในเบื้องต้นให้ตรวจดูว่าส่วนของinferior turbinate ที่โตนั้นเป็นส่วนไหนเป็นเนื้อเยื่อหรือเป็นกระดูกหรือเป็นทั้งเนื้อเยื่อและกระดูกแล้วเลือกเครื่องมือและวิธีการผ่าตัดให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
Endoscopic dacryocystorhinostom ให้ผลการผ่าตัดใกล้เคียงกับการทาผ่าตัดแบบเดิมแต่มีข้อดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิมคือ
1. ไม่มีแผลที่ใบหน้าหรือเยื่อบุตาเนื่องจากใช้การผ่าตัดผ่านช่องจมูกแทน
2. กล้ามเนื้อที่อยู่รอบลูกตายังบีบรัดถุงน้าตาได้ปกติ
3. ใช้เวลาผ่าตัดน้อยกว่า, เจ็บแผลน้อย, เสียเลือดน้อยกว่า
Endoscopic orbital decompression ในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอกตาโปนมีข้อดีคือ
1. มองเห็นบริเวณที่ทาผ่าตัดได้อย่างชัดเจน
2. ผลข้างเคียงของการผ่าตัดน้อย, เลือดออกน้อย, เจ็บแผลน้อย, ฟื้นตัวเร็ว, ไม่มีแผลภายนอก
3. สามารถขยายเนื้อของตาไปทางด้านในเข้าโพรงจมูก-ไซนัสได้เต็มที่
Endoscopic optic nerve decompression ในผู้ป่วยที่มีการกดทับของเส้นประสาทตาทาให้การมองเห็นลดลงมีข้อดีคือ
1. ไม่ต้องเปิดกระโหลกศีรษะ
2. ผลข้างเคียงของการผ่าตัดน้อย, เลือดออกน้อย, เจ็บแผลน้อย, ฟื้นตัวเร็ว, ไม่มีแผลภายนอก
Endoscopic sphenopalatine artery ligation ในผู้ป่วยที่มีเลือดกาเดาส่วนหลังที่ไม่สามารถหยุดเลือดได้จากการประจุผ้าในจมูกมีข้อดีคือ
1. ผลของการทาผ่าตัดดีกว่าการผ่าตัดผูกเส้นเลือดแบบเดิม
2. ผลข้างเคียงของการผ่าตัดน้อย, เลือดออกน้อย, เจ็บแผลน้อย, ฟื้นตัวเร็ว, ไม่มีแผลภายนอก
Endoscopic repair of CSF leaks ในผู้ป่วยที่มีน้าสมอง-ไขสันหลังรั่วมีข้อดีคือ
1. ไม่ต้องเปิดกระโหลกศีรษะ
2. ผลข้างเคียงของการผ่าตัดน้อย, เลือดออกน้อย, เจ็บแผลน้อย, ฟื้นตัวเร็ว
3. ผลของการทาผ่าตัดดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดกระโหลก
Endoscopic pituitary surgery ในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกของต่อมใต้สมองมีข้อดีคือ
1. มองเห็นบริเวณที่ทาผ่าตัดได้อย่างชัดเจน
2. สามารถมองเห็นและทาผ่าตัดเนื้องอกทั้งในบริเวณที่อยู่ด้านหน้าตรงๆและที่อยู่ด้านข้างได้ดี
3. ไม่ต้องผ่าผนังกั้นช่องจมูกหรือไม่ต้องหักผนังกั้นช่องจมูก
4. ผลข้างเคียงของการผ่าตัดน้อย, เลือดออกน้อย, เจ็บแผลน้อย, ฟื้นตัวเร็ว
ความเห็นล่าสุด
คลังเก็บ
หมวดหมู่
พื้นที่ประชาสัมพันธ์
พื้นที่ประชาสัมพันธ์
พื้นที่ประชาสัมพันธ์